Morgan Sportès

RUKSIAM (pour la plus grande gloire de Dieu), chez MATICHON (Bangkok)

แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า

29 กุมภาพันธ์ 2551

นวนิยาย Pour la plus grande gloire de Dieu (1993) ของ MORGAN SPORTES

All Blogs

— - TAG มือถือ : Tag ชมรมคนอนุรักษ์ขนมไทย Tag ค้นหาตัวเอง History Mystery 1 ปีที่ผ่านมา กับ ’New Year Tag’ ● Tag เป็นปลื้ม tAg 4 pics Learn Greek นวนิยาย Pour la plus grande gloire de Dieu (1993) ของ MORGAN SPORTES แถก ตะละแล๊กแต๊ก แต๊ก ต่อจาก สาวน่ารัก annie_martian The Confessor : Winner of the 2007 Barry Award for Best Thriller นิยายของ James Rollins :Daniel Silva :David’s bio :Max Foran

นวนิยาย Pour la plus grande gloire de Dieu (1993) ของ MORGAN SPORTES

Pour la plus grande gloire de Dieu ภาษาอังกฤษ"For the greatest glory of God" นวนิยาย เรื่องนี้มีการเสวนาเปิดตัวที่ ศูนย์ไทย ฝรั่งเศสศึกษาที่ปารีสจะมีการเสวนาทางวิชาการกันเีืีรื่องนี้วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๐ ไปแล้ว

บางครั้งนวนิยายละเอียดอ่อน กับการแยกไม่ออก ทำให้หลายๆคนเข้าใจผิดได้เหมือนกัน

ชื่อหนังสือ : รุกสยามในพระนามของพระเจ้า (Pour la plus grande gloire de Dieu) หมวด : วรรณกรรม — นิยายแปล

ชื่อหนังสือ : รุกสยามในพระนามของพระเจ้า (Pour la plus grande gloire de Dieu)

หมวด : วรรณกรรม — นิยายแปล

ผู้แต่ง : Morgan Sportes ผู้แปล : กรรณิกา จรรย์แสง จัดพิมพ์โดย : สนพ.มติชน พิมพ์ครั้งที่ 3 : สำนักพิมพ์มติชน มกราคม 2551 กระดาษปอนด์เหลือง

เรื่องโดยย่อ นวนิยายที่ฟื้นประวัติศาสตร์ให้กลับมีชีวิตได้อย่างสมจริงที่สุด ชวนหัว ยั่วล้อ อุดมด้วยเล่ห์กลการเมืองสุดแสบสันต์

ซุกซ่อนความสนุกทุกซอกบรรทัด

เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

โดยแฝงวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่ ศาสนา

แสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และการทหาร

เผยกลการเมืองที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังนโยบายการทูต

ถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็จะเอาด้วยกล

แต่การณ์กลับไม่ง่าย

เมื่อต้องผจญกับ “ วัฒนธรรมชาติ ” ในแบบเฉพาะของชาวสยาม

ท่ามกลางบรรยากาศร้อนชื้น ฝูงยุงบุกประชิดจู่โจม

การศึกครั้งนี้ ช่างใหญ่หลวงนัก...

อีกทั้ง

การหักเหลี่ยมเฉือนคมระหว่างฟอลคอน เสนาบดีกรีก และพระเพทราชา ท่านทูตโกษาปาน ผู้นำขบวนแถวขุนนางไทย

นี่คือ นวนิยายระดับเหนือชั้นที่จะทำให้มุมมองต่อประวัติศาสตร์ของคุณเปลี่ยนไป

ผู้แต่งนิยาย

Source :http://www.matichonbook.com/images/pr/Morgan02.jpg

ประวัติผู้เขียนและผู้แปล Morgan Sportès

มอร์กาน สปอร์แตซเป็นคนเชื้อสายฝรั่งเศส เกิดที่เมืองอัลเฌ่เมื่อปี ค.ศ. 1947 หลังจากประเทศอัลจีเรียประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1963 ก็เดินทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสนับแต่นั้นมา

ประสบการณ์ชีวิตวัยเด็กในช่วงสงครามอัลจีเรียนั้น มอร์กาน สปอร์แตซนำมาถ่ายทอดไว้ในงานนวนิยายเรื่อง Outremer (สำนักพิมพ์Grasset ,ค.ศ.1989) เขาจบการศึกษาระดับปริญญาสาขาวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จากซอร์บอนนด์ ขณะเกิดการเคลื่อนไหวประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา กรรมกรและฝ่ายซ้ายที่ปารีสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 เขาเป็นผู้สังเกตการณ์อยู่ห่างๆ และได้ตั้งคำถามกับขบวนการฝ่ายซ้ายฝรั่งเศสในครั้งนั้น ดังปรากฏในงานนวนิยายเล่มล่าสุดเรื่อง Maos ( สำนักพิมพ์ Grasset ) ที่กำลังจะวางตลาดในเดือนกันยายน และคาดว่าน่าจะได้รับการคัดสรรให้เข้ารอบประกวดรางวัลวรรณกรรมประจำชาติของปี

ในปี ค.ศ.1973 เมื่ออายุ 26 ปี มอร์กาน สปอร์แตซได้สัมผัสสัมพันธ์กับซีกโลกตะวันออกเป็นครั้งแรกโดยเดินทางมาเมืองไทย ในตำแหน่งอาสาสมัครของรัฐบาลฝรั่งเศส ทำงานในตำแหน่งอาจารย์สอนภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะนั้นเป็นช่วงสงครามเวียดนามและกรุงเทพฯก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนักสำหรับนักท่องเที่ยวฝรั่ง ประสบการณ์การผจญภัยทางอารมณ์ วัฒนธรรมและการเมืองครั้งนั้นเป็นที่มาของนวนิยายเล่มแรกในชีวิต ในชื่อว่า Siam ( สำนักพิมพ์ Seuil, ค.ศ. 1982)

หลังจากใช้ชีวิตเป็นนักเดินทาง และนักหนังสือพิมพ์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง มอร์กาน สปอร์แตซหันมายึดอาชีพนักเขียนเป็นการถาวร เขาเขียนถึงชีวิตวัยรุ่นฝรั่งเศสที่ตกเป็นเหยื่อของสังคมแห่งการบริโภคและปัญหาที่เกิดขึ้นไว้ในหนังสือเรื่อง L’Appât ซึ่งแบร์ทร็องด์ ตาแวร์นิเยร์ ผู้กำกับมือดีของฝรั่งเศสนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้รับรางวัลหมีทองคำจากเทศกาลหนังที่เบอร์ลิน ต่อจากนั้น ก็เริ่มสนใจศึกษาค้นคว้าหลักฐานจดหมายเหตุว่าด้วยความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 เดินทางกลับมาสำรวจฉากจริง และย้อนกลับมาเขียนถึงสยามประเทศ (อีกครั้ง)ในสมัยพระนารายณ์ ในนวนิยายที่ให้ชื่อว่า Pour la plus grande gloire de Dieu (สำนักพิมพ์ Seuil) ในปี 1993

จนถึงปัจจุบัน มอร์กาน สปอร์แตซเขียนนิยายไว้ 15 เล่ม สองเล่มสุดท้ายที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงในวงการหนังสือของฝรั่งเศส คือเรื่อง Rue du Japon (สำนักพิมพ์ Seuil, 1999) ว่าด้วยชีวิตรักกับสาวญี่ปุ่นซึ่งนักเขียนได้ไปใช้ชีวิตอยู่หนึ่งปี และเล่มก่อนสุดท้าย คือเรื่อง L’insensé (สำนักพิมพ์ Grasset, 2002) กล่าวถึงชีวิตของสปายสายลับสตาลินที่ประจำการอยู่ในญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นวนิยายเล่มนี้ได้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมก็องกูรต์ อันเป็นรางวัลสำคัญระดับชาติ

มอร์กาน สปอร์แตซ ใช้เวลาในการศึกษาผู้คน วิถีชีวิต และความเป็นไปของโลก สำหรับเขา งานเขียนหนังสือคืองานที่สะท้อนความปรารถนาในการที่จะมีชีวิตอยู่

คำนำของผู้เขียนส่วนหนึ่ง ถ้าหนังสือของผมสร้างความบันเทิงให้คุณๆๆผู้อ่านชขาวไทย ผมก็ขอตั้งความหวังไว้ด้วยว่างานของผมจะให้ความรู้ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารชั้นต้นในยุคนั้นโดยละเอียดไม่ว่าเป็ฯหลักฐานที่ตีพิมพ์แล้ว หรือที่อยู่ในรูปของจดหมายเหตุซึ่งยังไม่เป็นที่เปิดเผย ผมถึงเข้าใจกลการเมืองที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังนโยบายการทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ โดยบาทหลวงนิกายเยซูอิตเป็ฯนักเคลื่อนไหว กลการเมืองที่ว่า คือ เจตนาที่จะเข้ายึดอำนาจในสยามด้วยการทำรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ปกครอง อันที่จริงประเทศสยามนับว่าเป็นบันไดขั้นแตกในการก้าวเข้าสู่ความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ที่จะเข้ายึดครองทวีปเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาจักรจีน ทั้งในทางการเมืองและศาสนา

ในยุคนั้นอะไรต่อมีอะไรดูสับสนปนเปไปหมดในหัวคิดของคนตะวันตก(โดยเฉพาะคนฝรั่งเศสยิ่งสับสนเป็ฯพิเศษ) ทางการศาสนาเอยหรือเรื่องเงินๆๆทองๆ หรือเรื่องการทหารการณ์จึงออกมาในรูปที่ว่า เราฝรั่งเศสจะต้องเข้ามาช่วยยกระดับทาง จิตวิญญาณ ของพวกคน เจ้าเล่ห์ พวกบูชาพระอิฐพระปูนอย่างพวกสยามนี่เพื่อจะ ขืนใจ ให้พวกเขาได้ก้าวล่วงเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้าแท้ โดยบังคับเอาด้วยกำลังทั้งที่พวกเขาไม่ได้ร้องขอ ชาวคริสในสมัยนั้นคิดเชื่อเอาจริงเอาจังว่า พวกนอกศาสนา คริส นี้ จะต้องลงเพลิงนรกเผาผลาญไปชั่วกัปป์ชั่วกัลป์ การช่วยพวกเขาจึงเป็ฯกิจอัน คริสต์ศาสนิกชนที่ได้ จะพึงกะรทำ

แม้ถึงขนาดจำเป็นต้องเข่นฆ่าให้อาสัญก็ตาม

ข้อเท็จริง ศาสนจักรในประเทศไทย สมัยกรุงศีรอยุธยา โปรตุเกสเดินเรือ มีบาทหลวงคุณพ่อไปด้วย มีหน้าที่ฝ่ายวิญญาณ อารักษ์ เมื่อมีเหตุการสับสนเกิดขึ้นในสยาม

ในสมัยนั้น คอนสแตนตินฟอนคอลมีอำนาจมาก เพื่อประโยชน์ส่วนตน

พระสันตปาปาจึง ได้ส่งคณะสงฆ์มา โดยเรียกว่า "สิทธิอุปถัมย์ศาสนา" สิทธิและอำนาจบางอย่างให้พระสันตปาปา ไม่ต้องขึ้นกับกรุงโรม

ทำให้เกิด สังคยานาวาติกัน สังคายนาเมืองเตรนท์ (ปี 1545 - 1563) ปฎิรูปพระศาสนจักรเกิดขึ้น

ครั้งที่ 1 สังคายนาวาติกัน 1 ปี 1870 ปิดการประชุมอย่างรวดเร็ว เพราะเกิดสงครามฝรั่งเศสกะ ปรัสเซีย และชาตินิยมอิตาลี ยึดโรม

ครั้งที่ 2 สังคยานาวาติกัน 2 ปี 1960 ลายละเอียด ง่ายๆๆ ยาวๆๆๆ อ่านที่ http://www.catholic.or.th

หลักการใหญ่ ๆ ที่ได้มาจากวาติกัน 2 มีดังนี้ :-

1. พระศาสนจักรเป็น ผู้รับใช้ ของชาวโลก, ไม่ใช่เจ้านาย

2.เสียง มโนธรรม (Conscience) และ เจตนารมณ์ (Intention) ของแต่ละบุคคลเป็นตัวกำหนดบุญ-บาปในที่สุด, ไม่ใช่ กิริยาการกระทำ บุญ-บาปตามที่พระศาสนจักรเคยบัญญัติไว้เป็นบัญชี

3. ยกเลิกบัญชีหนังสือต้องห้าม (Index Librorum Prohibitorum)

4. นิกายคริสต์อื่น ๆ เป็นพี่น้อง, ไม่ใช่ศัตรู

5. ชาวยิวและมุสลิมเป็นญาติทางพระคัมภีร์, ไม่ใช่ศัตรู

6. ศาสนาอื่น (เช่น ฮินดู, พุทธ ฯลฯ) มิได้เป็นงานของซาตาน, แต่เป็นเพื่อนแสวงหาความจริงและคุณความดีด้วยกัน

7. ศาสนาเป็นเรื่องบังคับไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิเชื่อตามใจชอบ

8. ศาสนากับรัฐต้องแยกออกจากกัน ศาสนาไม่ควรรับใช้รัฐ, และไม่ควรเรียกร้องการอุปุถัมภ์จากรัฐ

9. พระศาสนาจำเป็นต้องหันไปรับใช้คนยากคนจนเยี่ยงพระเยซูโดยไม่ต่อต้านคนมั่งมี

10. งานธรรมทูตเป็นงานรับใช้ยกระดับชีวิตคนนอกศาสนา, ไม่ใช่การจับคนเข้ารีต

11. ระบอบนายทุนมีประโยชน์ต่อมนุษย์หากใช้ในทางถูกต้อง (กระจายทุนให้กว้างที่สุด), แต่สร้างความไม่เป็นธรรมหากใช้ในทางที่ผิด (รวบรวมทุนในมือคนจำนวนน้อย) ส่วนสังคมนิยม (เสรี) นั้นสะท้อนคำสอนของพระเยซู, จึงเป็นเพื่อน, ไม่ใช่ศัตรู

ตะวันตกวิกฤต คริสต์ศาสนา ISBN 9743214275

Create Date : 29 กุมภาพันธ์ 2551 Last Update : 29 กุมภาพันธ์ 2551 11:39:23